หากคุณตรงกับเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งในนี้ อาจแปลได้ว่าคุณเหมาะที่จะลงทุนในกองทุน Thai ESG และยิ่งมีข้อที่ติ๊กถูกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งตอกย้ำว่าคุณไม่ควรพลาดการลงทุนครั้งนี้
1. มีรายได้สุทธิที่หักลบค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว มากกว่า 150,000 บาท
2. ต้องการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุน เพราะไม่อยากจ่ายภาษีเป็นจำนวนมาก หรือโดยหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว แต่อยากขอเงินภาษีคืน
3. เป็นคนที่ฐานภาษีสูง เช่น 20% 25% ขึ้นไป ยิ่งฐานภาษีสูงเท่าไหร่ การลดหย่อนภาษียิ่งคุ้มค่าขึ้นเท่านั้น เช่น คนฐานภาษี 20% การซื้อ TESG จำนวน 300,000 บาท จะช่วยประหยัดภาษีถึง 60,000 บาท แต่คนฐานภาษี 5% แม้จะซื้อ 300,000 บาทเท่ากัน จะนำไปลดภาษีได้เพียง 15,000 บาท
4. ยังลดหย่อนภาษีไม่พอ ต้องการวงเงินเพิ่ม ซึ่งการลงทุนใน SSF กับ RMF ให้สิทธิลดหย่อนภาษีรวมกันแค่ 500,000 บาท แต่หากใครที่ต้องการวงเงินมากกว่านั้น การซื้อ Thai ESG จะให้วงเงินลดหย่อนเพิ่มอีก 300,000 บาท รวมสูงสุดเป็น 800,000 บาท
5. ต้องการลดหย่อนภาษี แต่ไม่อยากซื้อ RMF เพราะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี และต้องถือถึงอายุ 55 ปี ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะขายได้ สำหรับคนที่อายุน้อยกว่า 45 ปี
6. ต้องการลดหย่อนภาษี แต่ไม่อยากซื้อ SSF เพราะมองว่าการถือลงทุนถึง 10 ปี ยังยาวนานเกินไปหน่อย
7. มีเป้าหมายการลงทุนระยะยาว สามารถถือกองทุน Thai ESG อย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป
8. เชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของหุ้นไทยยั่งยืน ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG
9. เชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของตราสารหนี้ไทยยั่งยืน หรือ ESG Bond ที่ผู้ระดมทุนมีเป้าหมายนำเงินไปใช้กับโครงการต่าง ๆ ภายใต้แนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมองค์กรในระยะยาว
10. มีเงินเย็นปล่อยทิ้งไว้นิ่ง ๆ กำลังมองหาช่องทางนำไปลงทุนให้งอกเงย พร้อมลดหย่อนภาษีไปด้วยเลย
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลก
ในมุมมองของผม นโยบายกระตุ้นที่หลากหลาย ช่วยหนุนอารมณ์ตลาดได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาว ตลาดหุ้นจะเป็นขาขึ้นหรือไม่ อยู่ที่ความเชื่อมั่นของทั้งผู้ประกอบการและนักลงทุน ตัวแปรสำคัญที่สุดของจีน หนีไม่พ้น GDP ที่ต้องมีเห็นโอกาสเติบโตถึงเป้า 5% เป็นอย่างน้อย นอกจากนั้นก็ต้องเห็นแนวการปรับมุมมองการเติบโตให้ช้าลงโดยที่เศรษฐกิจไม่ถดถอย
ด้วย Valuation ที่สูงในปัจจุบัน ธีม AI จะได้ไปต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอัตราการทำกำไร (Profit Margin) ของบริษัทที่เกี่ยวข้องที่ต้องสูงกว่า 15% เป็นอย่างน้อย
ในกลุ่ม Tech ที่ไม่น่าเป็นห่วงมีเพียง Software (เช่น Microsoft, Google) ที่แค่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มตามปริมาณความต้องการของลูกค้า
แตกต่างจาก Hardware Sector (เช่น Tesla, Apple) ที่ Margin ต่ำเพียง 15-25% เสี่ยงที่จะถูกขายทำกำไรที่สุด ถ้าต้องมีการลงทุนเพิ่มที่มากกว่ารายรับ