ทำความรู้จักกลยุทธ์ Sell in May and Go Away ว่าคืออะไร พร้อมตอบคำถามว่าในปัจจุบันปัจจัยตามฤดูกาล อย่าง Sell in May ยังคงมีอิทธิพลกับโลกของการลงทุนเหมือนในอดีตอยู่หรือไม่
เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อพอร์ตการลงทุนของเราและเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
กระทรวงการคลังเตรียมเสนอขายหน่วยลงทุนประเภท ก. วงเงิน 1-1.5 แสนล้านบาท สำหรับนักลงทุนทั่วไป และจะเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเดือน ก.ย.นี้ เพื่อเป็นทางเลือกในการออมเงินของประชาชน
อัตราผลตอบแทนยังไม่ชัดเจน โดยจะจ่ายในรูปแบบเงินปันผล ตามอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงของกองทุนฯ แต่ไม่น้อยกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ แต่ไม่เกินกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นสูง ซึ่งกำหนดเป็นอัตราคงที่ตลอด 10 ปี ประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะให้อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำเฉลี่ยต่อปีใกล้เคียง (อาจมีส่วนลดเล็กน้อย) จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นอายุ 10 ปี ล่าสุดที่ 3.4% ต่อปี
ประเมิน Upside ต่อ SET Index 50-80 จุด บนวงเงิน 1-1.5 แสนล้านบาท คาดจะทำให้ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน เพิ่มขึ้น 3.0-4.4 หมื่นล้านบาท (อ้างอิงส่วนต่างช่วงก่อนจัดตั้งกองทุน 12 เดือน และหลังจัดตั้งกองทุน 3 เดือน) และช่วยหนุน SET Index ได้ราว 50-80 จุด บนสมมติฐานผลตอบแทน 3 เดือนหลังจัดตั้งกองทุนในปี 2003 และสัดส่วนของวงเงินต่อมูลค่าตลาดของ SET Index ในปัจจุบัน (รายละเอียดในหน้า 4-5)
หุ้นที่ประเมินว่ามีโอกาสเข้าเกณฑ์การลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ ในมุมมองของเรา ได้แก่ ปันผลสูงกว่า 3.5% ต่อปี เพื่อสร้างกระแสเงินสดสำหรับผลตอบแทนขั้นต่ำต่อปี เป็นหุ้นใน SET 100 ที่มีESG และ CG ซึ่ง ตลท. ให้ความสำคัญ และผลประกอบการปี 2025 มีแนวโน้มเติบโต ได้แก่ ADVANC BBL TTB KBANK KTB TCAP HMPRO BCP TOP BAM OSP SIRI AP LH และ PTT (อาจไม่สามารถลงทุนใน PTT เพิ่ม เนื่องจากติดข้อกำหนดห้ามถือสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเกินกว่า 25% หรือ benchmark+5%)
ความเสี่ยง การขยายขนาดกองทุนวายุภักษ์อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งยังไม่มีความชัดเจน โดยเงื่อนไขอาจมีความแตกต่างจากสมมติฐานของเรา, ภาวะตลาดในปัจจุบันที่แตกต่างจากในปี 2003-2004 การเติบโต GDP ของไทยมากกว่า 6% เทียบกับปัจจุบันที่ 2-3% ทำให้การเติบโตของกำไรของบจ. ในตลาดอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า, ทางเลือกลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเทียบกับไทยที่ไม่มีจุดเด่นในแง่การเติบโตเทียบกับในอดีต