โดยเฉพาะการเผชิญหน้าระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาด้านอุปทานหรือ Supply Shocks โดยเงินเฟ้อในครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากอุปสงค์ที่สูงขึ้น แต่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนสินค้าและบริการ ขณะที่อุปสงค์ทั่วโลกยังฟื้นตัวอย่างอ่อนแอ โดยเฉพาะในประเทศจีน
หากสถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางยังคงร้อนแรง ราคาทองคำในตลาดโลกอาจทดสอบระดับ 2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในเร็ว ๆ นี้ และในอนาคต ราคาทองคำอาจพุ่งขึ้นถึง 45,000 บาทต่อบาททองคำ หากสงครามขยายวงมากขึ้น การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจะมีความไม่แน่นอนและผันผวนสูงขึ้น โดยตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐฯ ดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้การลดดอกเบี้ยชะลอลง
ในขณะเดียวกัน การแข็งค่าของดอลลาร์อาจกดดันราคาทองคำ ตัวเลขการจ้างงานล่าสุดและอัตราการว่างงานที่ลดลง อาจส่งผลให้
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมเดือนพฤศจิกายน แต่มีแนวโน้มที่จะปรับลดเพียง 0.25% ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (Dollar Index) ปรับตัวสูงขึ้น ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และราคาทองคำในตลาดโลกปรับลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว ดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่า ในขณะที่ทองคำมีแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่อง