Keyword
Macro Making Sense

INVX Macro Making Sense – 20 ส.ค. 2567 สรุปประเด็นเรื่องเศรษฐกิจไทย 2Q/24 ขยายตัว 2.3% แต่ Momentum ชะลอลง

By InnovestX|20 Aug 24 9:00 AM
Macroe8c25d0f-31fc-4cbd-a32d-e47c9600ab35-20240829174019
สรุปสาระสำคัญ

เราคาดการณ์กำไรปกติ 4Q65 ของ BJC ที่ 1.55 พันลบ. +13% YoY จากยอดขายและรายได้ค่าเช่าและอื่นๆ ที่ดีขึ้น และ +74% QoQ จากปัจจัยฤดูกาล กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นใน 1Q66TD ช่วยหนุนให้ SSS เติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับต่ำถึงกลาง YoY (SSS เติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับกลาง YoY หากไม่รวมยอดขายกลุ่ม B2B ใน 1Q66TD) เราคาดว่ากำไร 1Q66 จะเติบโต YoY โดยได้รับการสนับสนุนจากยอดขายและรายได้ค่าเช่าที่ดีขึ้น แต่จะลดลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล คงเรทติ้ง OUTPERFORM ด้วยราคาเป้าหมายสิ้นปี 2566 อ้างอิงวิธี DCF ที่ 42 บาท

สรุปประเด็นเรื่องเศรษฐกิจไทย 2Q/24 ขยายตัว 2.3% แต่ Momentum ชะลอลง

  • - เศรษฐกิจไทย 2Q/24 ขยายตัว 2.3% สูงกว่าที่เราคาดที่ 2.1% จากการส่งออกที่ดีขึ้นแต่นำเข้าหดตัว GDP ไตรมาส 2/24 ของไทยขยายตัว 2.3% ต่อปี ดีกว่าคาดที่ 2.1% และขยายตัว 0.8% ต่อไตรมาส ต่ำกว่าไตรมาส 1/24 ที่ 1.2% บ่งชี้ Momentum ที่ชะลอตัว โดยองค์ประกอบที่ขยายตัวมาจาก (1) การบริโภคภาคเอกชน ที่ขยายตัว 4.0% ชะลอจากไตรมาสก่อนที่ 6.9% ตัว (2) ปริมาณการส่งออกสุทธิที่ขยายตัว 2.5% จากปริมาณการส่งออกสินค้าเริ่มกลับมาขยายตัว ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลง ส่วนองค์ประกอบที่หดตัวได้แก่ (1) สินค้าคงคลัง และ (2) การลงทุนทั้งภาครัฐ (-4.3%) และเอกชน (-6.8%)
  •  
  • - สภาพัฒน์คงประมาณการเศรษฐกิจที่ 2.5% ในปีนี้ โดยมองว่ามีปัจจัยสนับสนุน สี่ประการ คือ 1) การฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว 2) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคในประเทศ 3) การเพิ่มขึ้นของแรงขับเคลื่อนของการใช้จ่ายภาครัฐในช่วงครึ่งปีหลัง และ 4) การกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆของการส่งออกโลก ขณะที่มีปัจจัยกังวล สามประการ ได้แก่ 1) ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง และมาตรฐานสินเชื่อที่เข้มงวดเพิ่มขึ้น 2) ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และ 3) ความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก
  •  
  • - เราวิเคราะห์ว่ามุมมองทางเศรษฐกิจของสภาพัฒน์ เป็นการมองโลกในแง่ดีในระดับหนึ่ง โดยเรามีข้อกังวล 4 ประเด็น ได้แก่ 1) โมเมนตัมเศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ในช่วงครึ่งหลังของไตรมาสสอง ต่อเนื่องเดือน ก.ค. โดยเฉพาะภาคการบริโภคและลงทุน 2) การส่งออกของไทย ได้รับผลกระทบจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง รวมถึงการทุ่มตลาดของจีนมากขึ้น 3) การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทำให้การบริหารประเทศ และกระบวนการจัดทำงบประมาณสะดุดในระดับหนึ่ง ท่ามกลางการเบิกจ่ายงบลงทุนยังคงไม่กลับไปเท่าช่วงก่อนหน้า และ 4) นโยบายการเงินที่ตึงตัวจากนโยบาย Responsible Lending ของ ธปท. ที่ยังคงเน้น Debt deleveraging เพื่อลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP
  •  
  • - เราปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงสู่ 2.3% ต่ำกว่าสภาพัฒน์ จาก
    (1) การลงทุนเอกชนตามตัวเลขไตรมาส 2 และครึ่งปีแรก ที่การลงทุนหดตัวแรง จากความกังวลด้านเศรษฐกิจ ทำให้เจ้าของกิจการ-ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ไม่ลงทุน
    (2) การบริโภคเอกชน จากการบริโภคสินค้าคงทนที่หดตัวต่อเนื่อง ทั้งจากรายได้ประชาชนที่ลดลง หนี้ครัวเรือนที่สูง และนโยบายการเงินที่หดตัว
    (3) การบริโภคและลงทุนภาครัฐ จากการเบิกจ่ายนโยบายการคลังที่ต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะงบลงทุน นอกจากนั้น เรายังคงมุมมองว่าการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะทำให้เกิดการล่าช้าในกระบวนการจัดทำงบประมาณและการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้การบริโภคภาครัฐชะลอตัวด้วยเช่นกัน
  •  
  • - อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยอาจมี upside risk ในครึ่งปีหลัง หาก
    (1) รัฐบาลใหม่ปรับเปลี่ยนโครงการ Digital Wallet โดยปรับเป็นการแจกเงิน 2 งวด โดยงวดแรกแจกก่อนวันที่ 30 ก.ย. วงเงิน 1.65 แสนล้านบาท และ
    (2) การลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 16 ต.ค. และ 18 ธ.ค. จากเหตุผล 3 ประการ คือ (1) เศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอลงมาก ขณะที่ความเสี่ยงเงินเฟ้อจากการทำนโยบาย Digital Wallet เต็มรูปแบบเริ่มลดลง (2) สินเชื่อรวมที่หดตัวท่ามกลางเศรษฐกิจที่โตต่ำ และ (3) เป็นการช่วยลดทอนการแข็งค่าของเงินบาท
    ทั้งหมดนี้ อาจช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวที่ 2.5% ในปีนี้ได้
 
ท่าน สามารถอ่านและดาวน์โหลดเอกสารได้จาก Macro making sense 240820_T
Author
InnovestX

11

Most Read
1/5
Related Articles
Most Read
1/5