สัปดาห์นี้ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวขึ้นได้ดี หลังผ่านเหตุการณ์ Sell off ในช่วง Black Monday หลังสัญญาณตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังห่างจากภาวะถดถอย แต่ชะลอแบบ soft landing ชัดเจนมากขึ้น หนุนโดยตัวเลขขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ที่ต่ำกว่าคาดต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. ขยายตัว 1% MoM สูงกว่าคาด นอกจากนั้นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐอยู่ที่ 2.9% YoY ในเดือนก.ค. ต่ำกว่าคาด ขณะที่เงินเฟ้อผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 2.2% ต่อปีในเดือน ก.ค. ต่ำกว่าคาด ตลาดยังคงมุมมองการลดดอกเบี้ยของ Fed ในเดือน ก.ย. แต่มุมมองที่ว่าการปรับนโยบายของ Fed ล่าช้าลดลง ทำให้โอกาสปรับลดดอกเบี้ยรุนแรงลดลงเช่นกัน ด้าน GDP 2Q24 ของญี่ปุ่นขยายตัว 0.8%QoQ สูงกว่าคาดที่ 0.5% QoQ หนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่นฟื้นตัวได้เช่นกัน ฝั่งตลาดหุ้น EM ปรับขึ้น 1.2% ตามตลาดหุ้นทั่วโลก แม้ตัวเลขเศรษฐกิจจีนขยายตัวต่ำกว่าคาด จากการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค.ปรับตัวขึ้น 5.1% YoY ต่ำกว่าคาด ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วง 7M24 เพิ่มขึ้น 3.6% ต่ำกว่าคาด ส่วนอัตราว่างงานในพื้นที่เขตเมืองเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.2% ในเดือนก.ค. จากระดับ 5% ในเดือนมิ.ย. ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีน underperform เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยที่ถูกกดดันจากความไม่ชัดเจนด้านการเมือง หลังศาลรธน. มีมติให้นายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรี ตลาดอยู่ระหว่างจับตาการจัดตั้งครม. ชุดใหม่ว่าจะทำได้รวดเร็วเพียงใด หลังสภาผู้แทนฯ มีมติเห็นชอบ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกฯ ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นจากความกังวลความไม่สงบในตะวันออกกลาง และความกังวลเศรษฐกิจชะลอลดลง
ตลาดหุ้นโลก
ตลาดหุ้นไทย
ตลาดพันธบัตร
•ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ปรับลดลงเล็กน้อยที่ 3.9% ขณะที่ ระยะสั้น 2 ปี ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 4.07% ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย 2-10 ปี อยู่ที่ -17 bps
•ผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปี ลดลงเล็กน้อยที่ 2.56% ขณะที่ระยะสั้น อายุ 2 ปี ลดลงที่ 2.20% ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 24,235 ล้านบาท
ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์
ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
•ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) อ่อนลงที่ 102.97 จุด ขณะที่ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงที่ 148.9 เยน ด้านค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นที่ 1.10 ดอลลาร์ต่อยูโร ด้านค่าเงินเอเชีย ค่าเงินบาทแข็งขึ้นต่อเนื่องที่ 35.15 บาท ขณะที่เงินหยวนทรงตัวที่ระดับ 7.17 หยวน
กดอ่านเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารได้จากปุ่มด้านล่าง